อยากทราบว่าข่าวว่าพายุเข้าอีกในวันที่7 มันพายุอะไรคับ หรือแค่หย่อมความกดอากาศต่ำ

by Ness911 @5 ม.ค. 55 13:34 ( IP : 110...7 ) | Tags : สอบถาม

รบกวนถามหน่อยคับเพราะข่าวนี้มันลือกันมากเหลือเกินว่าจะมีพายุเข้าและมีน้ำมากกว่าเดิม

Comment #1
Posted @5 ม.ค. 55 17:53 ip : 101...8

ทั้งพายุ กับ ทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำ ไม่มีทั้งคู่ครับ

มีแต่ลมที่พัด กับ ถ้ามีฝนก็โปรยปราย ครับผม

เออ ผมอยากทราบ คุณ  Ness911 ได้รับข่าวสารที่ไหนมาหรือครับ จึงคิดเช่นนั้น

Comment #2
Posted @5 ม.ค. 55 20:19 ip : 122...119
Photo :  , x pixel 0 bytes

อีก 2 วัน ก็จะถึงวันที่ 7 หากมีพายุจริง ทางอุตุฯ คงมีรายละเอียดของพยากรณ์อากาศให้ทราบแล้วครับ เห็นภาพในดาวเทียม เป็นสีขาว ๆ ดูแล้วคงไม่น่าจะใช่พายุใช่ไหมครับ คุณเอกวัฒน์

Comment #3
Posted @5 ม.ค. 55 21:37 ip : 101...8
Photo :  , x pixel 0 bytes

ครับผม ไม่ใช่ครับ ที่เห็นเป็นขาวๆนั้นคือ กลุ่มเมฆโดยทั่วๆไปน่ะครับ ซึ่งอย่าเข้าใจผิดน่ะครับว่า ถ้ามีกลุ่มเมฆมาก ฝนต้องตกทุกครั้ง ไม่จำเป็นเสมอไปครับ

กลุ่มเมฆสีขาวๆที่เราเห็น ที่จะเกิดฝนที่แน่ๆเท่าที่ผมรู้คือกลุ่มเมฆที่เกิดจาก หย่อมความกดอากาศต่ำ ครับ ผมได้แนบรูปแผนที่อากาศของรอบ 13.00 น.มาเปรียบเทียบให้ดู

ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรูปของคุณหมี ตัวหย่อมอากาศต่ำคือ ตัว L มันจะเป็นแนวเดียวกันกับรูปของคุณหมีเลยครับ ที่ไหนมีหย่อมความกดอากาศต่ำอยู่บริเวณนั้นก็จะมีกลุ่มเมฆเยอะครับ และบริเวณนั้นก็จะมีฝนตกด้วยครับผม

ขอแนะนำครับว่า ถ้าไม่ชำนาญอย่าดูภาพถ่ายดาวเทียมของคุณหมีน่ะครับ เพราะเห็นมีกลุ่มเมฆเยอะๆ จะเข้าใจผิด คิดว่าเป็นอย่างอื่นไปสักหมดครับ

ให้ดูภาพถ่ายดาวเทียมแบบของผมดีกว่าครับ ซึ่งได้แนบเป็นรูปที่ 2 มันจะดูง่ายกว่าครับผม

เหอๆ เขียนมาสักยาว คุณสมภพ อย่าดุผมน่ะครับ มีอะไรแนะนำได้น่ะครับ  :d

Comment #4
Posted @5 ม.ค. 55 21:39 ip : 101...8
Photo :  , x pixel 0 bytes

ภาพถ่ายดาวเทียมที่แนะนำครับ ดูง่ายกว่าครับ

Comment #5
Posted @6 ม.ค. 55 07:40 ip : 101...8
Photo :  , x pixel 0 bytes

ครับผม จะยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนครับ เรียงลงไปด้านล่างเลยน่ะครับ เพราะโพสได้ครั้งละรูปครับ

ที่ วงกลมสีแดง คือกลุ่มฝนที่เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ครับ จะเห็นว่า มันเป้นเพียงกลุ่มฝนน่ะครับ ไม่ใช่อย่างอื่น ซึ่งกลุ่มฝนนี้กำลังตกอยู่ในทะเลจีนใต้ เหนือเกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย ครับผม

ดังนั้น ถ้าเห็นอะไรที่เป็นสีขาว จำนวนเยอะๆ นั้นคือกลุ่มฝนน่ะครับ แต่ถ้ากลุ่มฝนเหล่านี้ได้แปรสภาพเป้นอย่างอื่น จะไม่พ้นสายตาของกรมอุตุ น่ะครับ ไม่ต้องเป้นกังวล มีการแจ้งล่วงหน้าแน่นอน ครับผม

Comment #6
Posted @6 ม.ค. 55 07:41 ip : 101...8
Photo :  , x pixel 0 bytes

ภาพถ่ายดาวเทียม 1 เปรียบเทียบครับ

Comment #7
Posted @6 ม.ค. 55 07:42 ip : 101...8
Photo :  , x pixel 0 bytes

ภาพถ่ายดาวเทียม 2 เปรียบเทียบครับ

Comment #8
Posted @6 ม.ค. 55 07:44 ip : 101...8
Photo :  , x pixel 0 bytes

เป็น เรดาห์ของทางอุตุ ประเทศมาเลเซีย นำมาประกอบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ครับผม

Comment #9
Posted @6 ม.ค. 55 09:51 ip : 122...111

คุณเอกวัฒน์เอารูปนี้มาจากไหนครับ อยากเข้าไปดูบ้าง

คำอธิบายภาพ

Comment #10
Posted @6 ม.ค. 55 13:07 ip : 101...205

ครับ เข้าไปที่เว็ป ศูนย์อุตุนิยมวิทยา ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทางด้านซ้ายมือ เมนู ข้อมูลสำหรับการพยากรณ์ ให้คลิกที่ แผนที่อากาศประจำวัน ครับผม

แผนที่อากาศประจำวัน จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 6 ชั่วโมง ดังนี้ รอบ 07.00 น. รอบ 13.00 น. รอบ 19.00 น. รอบ 01.00 น.

ฮ่าๆๆ คุณหมี ไม่ใช่ยิ่งดูยิ่งมึนน่ะครับ :) มีอะไรที่ยังคาใจ หรือ ไม่แน่ใจ โพสแปะไว้ได้ครับ ถ้าตอบได้จะเข้ามาตอบให้ครับ  :d

Comment #11
Posted @6 ม.ค. 55 13:16 ip : 101...205

เออ คุณหมีครับ ช่วยประสานงานเอาวีดีโอชุด “การประยุกต์ใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้นในการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัยด้วยตนเอง” โดย คุณสมภพ  วิสุทธิศิริ นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่จัดที่ มอ. มาแปะไว้ที่เว็ปนี้ได้ไหมครับ ไม่รู้ต้องขอนุญาติทาง มอง หรือว่า คุณสมภพ ครับ

เท่าที่รู้มีพูดถึงเรื่อง แผนที่อากาศ กับ ภาพถ่ายดาวเทียม ด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

Comment #12
Posted @6 ม.ค. 55 16:05 ip : 122...111

ผมยังไม่เห็น vdo เลยครับ ไม่ทราบว่ามีอยู่ในอินเตอร์เน็ทไหม หรือติดต่อขอได้จากใครครับ

ที่ผมมีอีกชุดคือตอนที่ ACCCRN จัดที่ มอว. แต่ชุดนั้นมีปัญหาเรื่องเสียง จึงยังไม่ได้ลง ชุดที่จัดที่โรงเรียนธิดาเป็นชุดที่ฟังง่ายที่สุดแล้วครับ

Comment #13
Posted @7 ม.ค. 55 21:09 ip : 182...60

ผมยังไม่เห็น vdo เลยครับ ไม่ทราบว่ามีอยู่ในอินเตอร์เน็ทไหม หรือติดต่อขอได้จากใครครับ

ที่ผมมีอีกชุดคือตอนที่ ACCCRN จัดที่ มอว. แต่ชุดนั้นมีปัญหาเรื่องเสียง จึงยังไม่ได้ลง ชุดที่จัดที่โรงเรียนธิดาเป็นชุดที่ฟังง่ายที่สุดแล้วครับ

ประสานที่ อ.เทิดทูน ดำรงฤทธามาตย์ คณะวิทยาศาสตร์ มอ. ว่าที่คณะทำงานโครงการชุดใหม่ (พี่ก็ด้วย) ได้เลยครับ หรือจะให้ผมประสานให้ก็ได้ครับผม

Comment #14
Posted @8 ม.ค. 55 07:14 ip : 182...234

ครับผม ขอบคุณมากๆๆครับ มาถูกทางแล้วครับ ฮ่าๆๆๆ

ผมเห็นว่ามันมีประโยชน์ครับ เพราะคนสนใจเรื่อง ลม ฟ้า อากาศ เพิ่มมากขึ้น ครับผม  :d

Comment #15แต่กรมอุตุบอกไว้ครับ
Posted @8 ม.ค. 55 17:50 ip : 182...157
Photo :  , x pixel 0 bytes

วันที่ 9-12 ม.ค.จะมีมรสุมลูกใหม่ ดูในถาพถ่ายดาวเทียมตอนเช้า กับตอนค่ำยังอยู่ที่เดิมครับ ไม่รู้จะเข้าจริงไหม

Comment #16
Posted @8 ม.ค. 55 18:15 ip : 118...80

คุณมิสเตอร์ป้อม เข้าใจผิดกันใหญ่แล้วครับ
ความหมายของมรสุม คือ

มรสุม (Monsoon)         มรสุม เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ คำว่า “มรสุม” หรือ Mosoon มาจากคำ Mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า “ฤดูกาล” (Season) ในครั้งแรกได้นำคำนี้มาใช้เรียกลมที่เกิดในทะเลอาหรับก่อน ในทิศตะวันออกเฉลียงเหนือเข้าสู่ทะเลอาหรับเป็นระยะเวลา 6 เดือน แล้วเลี่ยนกลับไปในทิศทางตรงข้าม คือ จากทะเลอาหรับเข้าสู่ภาคพื้นทวีปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะเวลา 6 เดือน เช่นกัน ต่อมาได้นำคำนี้ไปเรียกลมที่มีลักษณะอย่างเดียวกันแต่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลกด้วย       มรสุม เกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ คือเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินและพื้นน้ำทำนองเดียวกับลมบกลมทะเล ในฤดูหนาวอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่าและลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลเข้าไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม       มรสุมหรือลมประจำฤดูที่มีกำลังแรงจัดที่สุด ได้แก่มรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย อันเป็นที่ตั้งของประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทย มาเลเซีย พม่า บังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุมลมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มต้นพัดเข้าสู่ภาคกลางของประเทศประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงต้นเดือนตุลาคมซึ่งเป็นระยะของฤดูฝน ต่อจากนั้นลมจะแปรปรวนและเริ่มเปลี่ยนทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณปลายเดือนตุลาคมไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาของฤดูหนาว

ของบ้านเราช่วงนี้คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ครับ
ทางกรมอุตุ ได้แจ้งว่า วันที่ 9-12 มค. จะมีมวลอากาศเย็นแผ่เสริมลงมาช่วงนั้น ทำให้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น

ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน ลมมรสุมนี้ เมื่อพัดเข้ามาบ้านเราจะหอบเอาไอน้ำจากทะเล แล้วไอน้ำนี้และที่กลั่นตัวเป็นฝนมาตกบ้านเรา ครับผม

อาจจะตกหนักบ้าง เบาบ้าง หรือปรอยๆ เป็นบางสถานที่ ครับผม

มันไม่เกี่ยวกับ ฝนที่เกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำครับ ที่คุณเห็นแดงๆ ไม่มีมาตกบ้านเราน่ะครับ อย่าเข้าใจผิด ครับผม :)

Comment #17กลุ่มก้อนสีแดงที่อยู่ใต้ คำว่าโฮจิมินต์ซิตี้
Posted @8 ม.ค. 55 19:59 ip : 182...157

กลุ่มก้อนสีแดงที่อยู่ใต้ คำว่าโฮจิมินต์ซิตี้ มีโอกาสเข้าสู่บ้านเราได้ไหมครับ

Comment #18
Posted @8 ม.ค. 55 20:01 ip : 122...29

รบกวน Field-TEI ช่วยขอ VDO ให้หน่อยสิ ผมยังไม่รู้จัก อ.เทิดทูน เลยครับ

Comment #19
Posted @8 ม.ค. 55 23:25 ip : 182...201

รบกวน Field-TEI ช่วยขอ VDO ให้หน่อยสิ ผมยังไม่รู้จัก อ.เทิดทูน เลยครับ

ไม่รู้จักจริงอะ ประชุมล่าสุด อ.เทิดทูน ก็อยู่ด้วยนะครับ แต่ไม่เป็นไรจะจัดให้ครับ ก้าวหน้ายังไงจะรายงานให้ทราบ ครับผม